วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การประชุมอาเซียนซัมมิท

การประชุมอาเซียนซัมมิท สามารถรับชมการถ่ายทอกทาง
http://live.thaipbs.or.th/index2.php

ติดตามการสัมภาษณ์ (ย้อนหลัง)


หัวข้อ The Direction of PSB in the Southeast Asia Region

ได้ทาง http://www.webtvthaipbs.com/?q=node%2F248

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แลกเปลี่ยนเรียนรู้เลสาบไทย-กัมพูชา

ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาจากอดีตจนถึงปัจจุบันประสบปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่า

ป่าต้นน้ำถูกทำลาย ตะกอนทับถม ทะเลตื้นเขิน พื้นที่กระจูดลดลง ปัญหาชุมชน สัตว์น้ำลด น้ำเสียจากชุมชน ป่าพรุถูกบุกรุก พรุแห้ง ไม่มีน้ำ ไฟไหม้รุนแรง ขาดน้ำจืดทำนา/น้ำเค็ม-ดินเปรี้ยว/จืด/เสื่อม ดินสารพิษตกค้าง ราคาข้าวตกต่ำ-ผลผลิตต่ำ ต้นทุนสูง เครื่องมือประมงหนาแน่น ทำลายสัตว์น้ำ น้ำเสียจากนากุ้ง โรงงาน ชุมชน ร่องน้ำ ปัญหาท่าเรือน้ำลึก

ผู้ที่ได้รับผลกระทบกลุ่มแรกคือชาวประมงรอบทะเลสาบ จึงไดมีการรวมตัวกับเป็นเครือข่ายภาคประชาชนและดำเนินกิจกรรมต่างเพื่อแก้ปัญหาของทะเลสาบได้แก่ การจัดทำข้อมูลการทำแผนแม่บท เป็นแนวทางเพื่อแก้ปัญหา มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายชุมชนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีการวางพันธกิจของเครือข่ายชุมชนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบ

ในพ.ศ. 2545 ทางรัฐบาลได้สนับสนุนให้มีโครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยมีการจัดทำแผนแม่บทและการตั้งคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพื่อดูแลกำกับให้การดำเนินต่างๆให้อยู่ภายใต้แผนการพัฒนาซึ่งการดำเนินงานยังไม่ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม อันเนื่องมาจาก ขาดการบูรณาการการดำเนินงาน ขาดหน่วยงานประสานงานการตัดสินใจดำเนินงานการพัฒนาในระดับพื้นที่ ไม่มีงบประมาณเฉพาะของโครงการและกลไกการบริหารโครงการที่ต้องขึ้นอยู่กับการเมือง สภาลุ่มน้ำทะเลสาบจึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อชะลอปัญหาในการพัฒนา

กรมทรัพยากรน้ำ ได้ประสานให้มีโครงการพัฒนาร่วมระหว่างทะเลสาบสงขลาและโตนเลสาบ ประเทศกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ของสองทะเลสาบได้มีการดำเนินงานที่ผ่านมาคือ มีการประชุมเริ่มงาน ที่กรมทรัพยากรน้ำ กรุงเทพ ในวันที่สี่ สิงหาคม สองพันห้าร้อยห้าสิบสี่ วันที่แปด กันยายน สองพันห้าร้อยห้าสิบสี่ ประชุมที่ มอ.สางขลา วันที่หนึ่งถึงสี่ พฤศจิกายน สองพันห้าร้อยห้าสิบสี่ ทีมงาน SLB ดูงานภาคสนาม ณ โตนเลสาบ วันที่ ยี่สิบสาม ถึงยี่สิบหก มกราคม สองพันห้าร้อยห้าสิบห้า ทีมงาน TLB ดูงานภาคสนาม ณ ทะเลสาบสงขลา และวันที่ห้าถึงหก เมษายน ที่ผ่ามา ได้ประชุมสรุปงาน ที่กรมทรัพยากรน้ำที่ กรุงเทพ

ในส่วนของทะเลสาบสงขลานั้น ทางสภาลุ่มน้ำ ได้กำหนดพื้นที่ สามโซน เพื่อเป็นพื้นที่นำร่องในการพัฒนาร่วมคือ

1ชุมชนท่าหิน เป็นพื้นที่นำร่อง ในการแก้ปัญหา และพัฒนาร่วม ใช้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในการขับเคลื่อนที่จะสร้างงานในพื้นที่ สร้างจิตสำนึกร่วมในการอนุรักษ์ เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากร และวิถีชีวิต

2การจัดการแพปลาชุมชน บ้านช่องฟืน ตำบลเกาะหมาก จากการที่สัตว์น้ำในทะเลลดลง

และอยากให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม ได้มีการรวมกลุ่ม และทดลอง ปล่อยพันธุ์กุ้งปลา

สามเดือนเริ่มส่งผล ต่อมาก็จัดตั้งแพปลาชุมชน ลดการเอาเปรียบของผู้ค้าคนกลาง มีกองทุน ที่จะสร้างความมั่นคงให้มากขึ้น

3การแก้ปัญหาน้ำเสียของทะเลน้อย ชุมชนทะเลน้อย เป็นชุมชนใหญ่ มีบ้านเรือนติดกัน ปลูกบ้านแบบยกพื้นประมาณ 3,000 ครัวเรือน มีการถ่ายน้ำเสียจากครัวเรือน การย้อมสีกระจูดเพื่อทำผลิตภัณฑ์หัตถกรรม การแปรรูปสัตว์น้ำลงสู่ทะเลน้อยโดยตรง ไม่มีการจัดการน้ำเสียใดๆ ทำให้มีน้ำขังใต้ถุนบ้านเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหนะเชื้อโรค พืชน้ำเจริญงอกงามเร็วและมีจำนวนมากจนเกือบเต็มทะเล ในขณะที่ปริมาณโลหะหนักในตะกอนดินที่เกิดจากน้ำย้อมสีกระจูดมีค่าสูงกว่าปริมาณที่เริ่มจะส่งผลกระทบแล้ว ทั้งนี้มีความคาดหวัง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การ เรียนรู้จากสองทะเลสาบ

เพื่อหารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรที่เหมาะสม ให้เกิดธรรมมาภิบาลในการ บริหารทรัพยากรของลุ่มน้ำ ส่งเสริมให้ทั้งทะเลสาบสงขลาของไทยและโตนเลสาบของกัมพูชา เป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งทำมาหากินอย่างยั่งยืนของชุมชน

จนสามารถนำไปใช้อ้างอิงเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับพื้นที่อื่นๆได้ต่อไป






วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เทศกาลขอบคุณเล...เท่าหวัน

เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสทบทวน ทำความเข้าใจถึงประโยชน์ของทะเลสร้างตัวแบบให้กับเยาวชนรุ่นหน้าต่อการมองสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง
4 ตำบลตะเคียนทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
1 ประจำปี 2555
วันที่
19-20 พฤษภาคม 2555
วันเสาร์ที่
19 พฤษภาคม 2555. 60 นาที พิธีทำบุญพ่อตาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ / ทำบุญน้ำ / ทำบุญเครื่องมือ
พิธีทำบุญพระ / รับประทานอาหารร่วมกัน
10.00-11.00
11.00-12.00
. 60 นาที กีฬาพื้นบ้าน มวยทะเล . 60 นาที กีฬาพื้นบ้าน การแข่งขันพายเรือ หัวใบ้ ท้ายบอด / มอบรางวัล
12.00-13.00
13.00-14.00
. 60 นาที -------------------พักรับประทานอาหารเที่ยง------------------------------. 60 นาที กีฬาพื้นบ้าน กระดานถีบ
15.00-17.00
17.00-17.30
. 60 นาที ----------------- พักเวทีเตรียมความพร้อม ---------------- (กิจกรรมจากผู้สนับสนุน). 30 นาที เข้าสู่พิธีเปิด.....พิธีกรกล่าวต้อนรับอย่างเป็นทางการ นำเข้าการแสดงเปิดงาน
17.30-17.45
. 15 นาที เชิญประธานจัดงาน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทอง กล่าวรายงาน
วัตถุประสงค์ในการจัดงาน
17.45-18.00
. 15 นาที เชิญประธานในพิธี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวเปิดงาน
18.00-18.30
. 30 นาที ร่วมทำพิธีเปิดงาน
เชิญตัวแทน 7 อำเภอ ร่วมทำพิธีเปิดงานด้วยการรวมพลังฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทางทะเล 18.30-18.40 . 10 นาที เชิญประธานมอบรางวัลให้กับผู้ที่ชนะการประกวดเขียนบทความและคำคมขอบคุณทะเล
18.40-19.00
. 20 นาที ผู้ชนะการประกวดอ่านบทความขอบคุณเลเท่าหวัน
19.00-19.30
. 30 นาที กิจกรรมจากผู้สนับสนุน
19.30-20.20
20.20-20.50
. 50 นาที การประกวด "การแสดงขอบคุณเลเท่าหวัน" รอบที่ 1. 40 นาที วงดนตรี
20.50-21.30
21.30-22.10
. 40 นาที การประกวด "การแสดงขอบคุณเลเท่าหวัน" รอบที่ 2. 40 นาที วงดนตรี
22.10-22.30
. 20 นาที ประกาศผลการประกวดการแสดงขอบคุณเลเท่าหวัน / มอบรางวัล
ปิดงาน
(09.00
 
 
 
เป็นต้นไป ร่วมชมบูธกิจกรรม / การออกร้านจากชาวบ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูธให้ความรู้เชิงปฎิบัติการเรื่อง "การทำปุ๋ยทะเล อีเอ็มบอล" บูธร่วมประกวดการทำหลอดหอยจากชาวบ้าน)
วันอาทิตย์ที่
20 พฤษภาคม 2555. 90 นาที พิธีกรกล่าวต้อนรับ นำทุกท่านเข้าสู่กิจกรรมภายในงาน
เข้าสู่เกมการแข่งขันเซียนหอยนางรม / มัดปูมือเดียว
11.00 – 13.00
13.00 –15.00
. --------พักเที่ยง---------- (พักเวที ต้อนรับองคมนตรี ณ สนามบินฯ ). 120 นาที พิธีปักหมุดหลักชัย เพื่อกันพื้นที่ป่าชายเลน และร่วมกันปลูกป่าชายเลน ประธานโดย ท่านองคมนตรี เสนาณรงค์
15.00-16.30
. 90 นาที เปิดเวทีสาธารณะในหัวข้อ "ทะเลกับชุมชนล้วนพึ่งพา" (กรณีอ่าวบ้านดอน)ผู้ร่วมเวที -.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตัวแทนภาคประชาชน
-.
-.
-.
-.
ผู้แทนสำนักนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ) ตัวแทนนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 3(.ชุมพร) ตัวแทนผู้นำท้องถิ่น เป็นต้น
16.30–18.00
. 90 นาที ร่วมกันเก็บขยะออกจากทะเล
กิจกรรมโยนอีเอ็มบอลลงสู่ทะเล
18.00-19.30
19.30-20.00
. 90 นาที การแข่งขันทำอาหารทะเล "แชมป์ทะเลเดือด" . 30 นาที ประกาศผลการประกวดทำหลอดหอย / มอบรางวัล
20.00-22.00
. 120 นาที วงดนตรีจากศิลปิน แสง ธรรมดา
22.00
. เป็นต้นไป ชมการแสดงจาก หนังประเคียง ระฆังทอง /ปิดงาน
-.
นายอำพล
09.30- 11.00
08.00-10.00

ณ บริเวณริมคลองเฉงอะ หมู่ที่

ลำดับงาน
เทศกาลขอบคุณเลเท่าหวัน ครั้งที่