วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


การตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่และประชุมชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยวาจา กรณีเรื่องร้องเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิชุมชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน 2553 09.30 – 15.30 น. ห้องประชุมศรีวิชัย ชั้น 5 อาคารศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราชหลังใหม่ประชุมรับฟังการชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยวาจากรณีเรื่องร้องเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราชต่อ
อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิชุมชนโครงการ ขนาดใหญ่หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่กำลังวนเวียนหาทางมาลงที่นครศรีธรรมราช ว่าเป็นผลมาจากการขยายตัวของทุนนิยมที่พัฒนามาถึงขั้นตอนโลกาภิวัตน์ซึ่ง ปรากฏเด่นชัดตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา สิ่งที่แตกต่างไปจากการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่อันเนื่องมาจากการขยายตัว ของทุนนิยมในช่วงก่อนๆคือ ครั้งนี้จะก่อปัญหารุนแรงมากที่สุดกว่าเคยเพราะทุนนิยมต้องการมาแย่ง ทรัพยากรซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการผลิตทำมาหากินของชาวบ้านแทบหมดสิ้นจนถึง ขั้นทำให้วิถีชีวิตแตกสลาย โครงการขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นมองเผินๆเหมือนอยู่กันกระจัดกระจาย แต่ที่จริงแล้วทุกโครงการจะหนุนเสริมกันจนกล่าวได้ว่าทุกโครงการเป็นปัจจัยหรือโครงสร้างพื้นฐานให้กันและกัน และเป็นไปในทิศทางเดียวกันตามแนวทางที่กำหนดระดับนโยบาย ปัจจุบันโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในนครศรีธรรมราชแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 22 โครงการ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน อ.ละแม จ.ชุมพร


30 สค. 2553
วันนี้ กลุ่มประชาชนในนาม “เครือข่ายรักษ์ละแม” นำโดยนายสุนทร รักษ์รงค์ ประธานกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) 16 จังหวัดภาคใต้ และนายอมร บรรจงศิริ อดีตกำนัน ต.ละแม จ.ชุมพร ได้รวมตัวกันชุมนุมที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอละแม จ.ชุมพร เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใน อ.ละแม ต่อมานายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเสร็จสิ้นการปฏิบัติภารกิจที่ อ.เมือง จ.ชุมพร พร้อมด้วยนายไพโรจน์ แสงภู่วงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้เดินทางไปพบผู้ชุมนุม โดยนายถาวรได้ขึ้นบนเวทีรับหนังสือเรียกร้องจากผู้ชุมนุม พร้อมรับปากว่าจะนำไปเสนอให้นายกรัฐมนตรี และส่งต่อไปยังกระทรวงที่รับผิดชอบ โดยหนังสือเรียกร้องสรุปได้ว่า ขอให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่เข้ามาทำงานมวลชนสัมพันธ์ออกจากพื้นที่ให้หมด และหยุดการทำความเข้าใจกับชาวบ้านในพื้นที่ทั้งใน จ.ชุมพร และ จ.สงขลา
ข่าวแจ้งว่า นายสุนทร พยายามให้นายไพโรจน์ ซึ่งรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ลงนามในเอกสารเพื่อสั่งให้ กฟผ.หยุดดำเนินการใดๆในทันที แต่นายไพโรจน์ไม่ยอม ระบุว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ แต่ยินดีประสานงานให้ โดยได้โทรศัพท์ถึงผู้บริหาร กฟผ. ก่อนแจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบว่า กฟผ.ยินดีสั่งเจ้าหน้าที่ออกจากพื้นที่ตามข้อเรียกร้อง ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมพอใจและสลายการชุมนุม นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้ กฟผ.ยังไม่สามารถทำความเข้าใจต่อประชาชนได้ต่อโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ขณะที่ประชาชนก็หวาดกลัวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทราบว่าขณะนี้มีการรวบรวมที่ดินโดยกลุ่มนายหน้าบ้างแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะ กฟผ.ขาดการประชาสัมพันธ์เรื่องประโยชน์และผลกระทบจากโรงไฟฟ้า โดยเฉพาะเรื่องหลักประกันสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ จึงทำให้ประชาชนไม่มั่นใจ

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการอบรมแกรนำเด็กในโครงการปาฎิหารย์แห่งชีวิต

รับฟังรับชมการถ่ายทอดสดงาน โครงการอบรมแกนนำเด็กในโครงการปาฎิหารย์แห่งชีวิต ระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2553 ณ.โรงแรม....... จังหวัดสงขลา รับฟังการถ่ายทอดสดทางวิทยุออนไลน์ และโทรทัศน์ออนไลน์เชิญรับฟังได้จากที่นี่ครับ



โครงการอบรมแกรนำเด็กในโครงการปาฎิหารย์แห่งชีวิตสภาเด็กและเยาวชน ณ โรงแรมแกรนด์เสาวลักษณ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553 มีเยาวชนของแต่ละจังหวัดในภาคใต้ตอนบน เข้าร่วมอบรมนับพัน ยังมีตัวแทนมาร่วมจัดรายการกับทีมสื่อที่ถ่ายทอดวิทยุ และทีวีออนไลน์