วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เวทีประชุมปรึกษาหารือ

วันจันทร์ ที่ 26 พ.ย. 2555 เวลา 9.00 - 15.00 เวทีประชุมปรึกษาหารือ
 แนวทางการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ
 กลุ่มพื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้
 (เครือข่ายสมัชชาสุขภาพภาคใต้ นักสานพลัง และอนุกรรมการสนับสนุนการพัฒนาวิชาการภาคใต้).
 ณ ห้องประชุมโรงแรมวีแอล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



โครงการอบรมพัฒนาการศักยภาพแกนนำเยาวชน ศอ.ปส.ย.ระดับจังหวัด (จังหวัดกระบี่)


วันที่ ๑๓ - ๑๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลาง ต.บ้านกลาง อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
กำหนดการ


โครงการอบรมพัฒนาการศักยภาพแกนนำเยาวชน ศอ.ปส.ย.ระดับจังหวัด (จังหวัดกระบี่)

วันที่ ๑๓ - ๑๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

ณ. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลาง



วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕

๐๙.๐๐-๑๐.๐๐ น. -ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน (เครือข่ายเยาวชนระดับจังหวัด)

๑๐.๐๐-๑๑.๐๐ น. -ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ และประวัติความเป็นมาของโครงการ

๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น. -พี่เลี้ยงแนะนำตัวให้น้องๆ / สันทนาการละลายพฤติกรรม

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. -รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐-๑๔.๐๐ น. -พิธีเปิด/และบรรยายพิเศษเรื่องแกนนำเยาวชนกับแนวทางการป้องกันและ

การแก้ไขปัญหายาเสพติด

๑๔.๐๐-๑๕.๐๐ น. -กิจกรรมสันทนาการ

๑๕.๐๐-๑๖.๐๐ น. -บรรยาย เรื่อง “การสร้างจิตสำนึก/ความมีน้ำใจ(ความเป็นผู้นำ)”

๑๖.๐๐-๑๗.๐๐ น. -กิจกรรมสันทนาการ

๑๗.๐๐-๑๘.๐๐ น. -บรรยายประกอบสื่อ เรื่อง “โทษของสิ่งเสพติด/การแก้ไข/สรุป/แบ่งกลุ่ม

๑๘.๐๐-๑๙.๐๐ น. -รับประทานอาหารเย็น

๑๙.๐๐-๒๑.๐๐ น. -บรรยาย เรื่อง “คุณสมบัติของผู้นำกิจกรรมด้านการป้องกันยาเสพติด”



วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕

๐๖.๐๐-๐๗.๐๐ น. -กายบริหาร

๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น. -ภาระส่วนตัว

๐๘.๐๐-๐๙.๐๐ น. -รับประทานอาหารเช้า

๐๙.๐๐-๑๐.๐๐ น. -กิจกรรมสันทนาการ

๑๐.๐๐-๑๑.๐๐ น. -บรรยาย เรื่อง “การสร้างแรงบันดานใจในการสร้างชีวิต และ เพื่อสังคมไทย”

๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น. -การวิเคราะห์สื่อ/กิจกรรมกลุ่ม

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. -รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐-๑๔.๐๐ น. -บรรยาย เรื่อง “เทคนิคในการทำกิจกรรม”

๑๔.๐๐-๑๗.๐๐ น. -กิจกรรมกลุ่มวอล์คแรลลี่ จำนวน 6 กิจกรรม

๑๗.๐๐-๑๘.๐๐ น. -สรุปร่วมกิจกรรม

๑๘.๐๐-๑๙.๐๐ น. -พักรับประทานอาหารเย็น

๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น. -บรรยาย เรื่อง “พิษของยาเสพติดให้ผลกระทบอย่างไรต่อประเทศชาติ



วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕

๐๖.๐๐-๐๗.๐๐ น. -กายบริหาร

๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น. -ภาระส่วนตัว

๐๘.๐๐-๐๙.๐๐ น. -รับประทานอาหารเช้า

๐๙.๐๐-๑๐.๐๐ น. -กิจกรรมสันทนาการ

๑๐.๐๐-๑๑.๐๐ น. -ประชุม เรื่อง “การจัดตั้ง ศอ.ปส.ย ระดับจังหวัด” /แนวทางการดำเนินงาน/

ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเยาวชน

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. -พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐-๑๔.๐๐ น. -พิธีปิด/พร้อมทั้งให้โอวาท

 
โครงการอบรมพัฒนาการศักยภาพแกนนำเยาวชน ศอ.ปส.ย.ระดับจังหวัด


(จังหวัดกระบี่ )



รัฐบาลถือว่าปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และน้อมนำกระแสพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในเรื่องยาเสพติดมาปฏิบัติให้สำเร็จลุล่วง โดยใช้ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดเป็นยุทธศาสตร์หลัก กำหนดกลยุทธ์สำคัญที่จะดำเนินการ คือ ๗ แผน ๔ ปรับ ๓ หลัก ๖ เร่ง เพื่อให้เป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยึดเป็นหลักในการขับเคลื่อนงาน โดยการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดให้กับเยาวชนทั่วไป และเยาวชนกลุ่มเสี่ยง จะเป็นการตัดการเพิ่มขึ้นของผู้เสพรายใหม่ จะให้ความสำคัญในการป้องกัน ยาเสพติดในสถานศึกษาทุกแห่งรวมทั้งขจัดปัจจัยเสี่ยงที่เอื้อต่อปัญหายาเสพติดให้หมดไป สร้างคุณภาพชีวิต ทัศนคติให้กับเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของชาติ ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

จากที่ได้กล่าวมาในข้างต้น ศูนย์อำนวยการประสานงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคเยาวชนจังหวัดกระบี่ ได้เข้าร่วมโครงการโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการดำเนินการเครือข่ายเยาวชน ศอ.ปส.ย.ภาค ๘ ครั้งที่ ๑ ประจำปี ๒๕๕๕ กับศูนย์อำนวยการประสานงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคเยาวชนภาค ๘ (ศอ.ปส.ย.ภาค ๘) ซึ่งเป็นผู้จัดในโครงการ ในการประชุมนั้นได้มีการหารือถึงปัญหายาเสพติดและแนวทางการดำเนินงานการป้องกันยาเสพติดในเยาวชน ของพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนบน จึงได้มีการกำหนดแนวการดำเนินงานทิศทางการทำกิจกรรมดังต่อไปนี้ เน้น หลัก ๔ สร้าง ๑.สร้างศักยภาพแกนนำเยาวชน ๒.สร้างกะแสในการป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเยาวชนและเน้นวัยก่อนกลุ่มเสี่ยง ๓.สร้างองค์ความรู้ ๔.สร้างฐานข้อมูลและองค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆ

ซึ่งในการจัดอบรมครั้งนี้เน้นแนวทางการพัฒนาศักยภาพเยาวชนและจัดตั้งเป็น ศูนย์อำนวยการประสานงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคเยาวชนจังหวัดกระบี่ เพื่อจะดำเนินงานรวมทั้งสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคีเครือข่ายองค์กรเยาวชนในระดับต่าง ๆ ในจังหวัด เพื่อจะได้ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนในแต่ละพื้นที่ นำไปสู่การเป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง ฯ ภาคเยาวชนที่เข้มแข็ง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะร่วมกับผู้ใหญ่ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป


วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สื่อสันติภาพ สร้างน้องให้รักสื่อ

โครงการ สื่อสันติภาพ สร้างน้องให้รักสื่อ (Love Peace Love Media) # 2

โดย ชมรมสื่อสันติภาพ ม.วลัยลักษณ์ (PEACE MEDIA WU)


วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปกป้องสตูล ปากบารา 9-10 มิถุนายน 2555


ปกป้องทรัพยากร ปกป้องสตูล ปกป้องปากบารา ลงนามสัญญาประชาคมคนสตูลไม่เอาท่าเรืออุตสาหกรรมปากบารา”

ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ณ ชายหาดปากบารา

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การประชุมอาเซียนซัมมิท

การประชุมอาเซียนซัมมิท สามารถรับชมการถ่ายทอกทาง
http://live.thaipbs.or.th/index2.php

ติดตามการสัมภาษณ์ (ย้อนหลัง)


หัวข้อ The Direction of PSB in the Southeast Asia Region

ได้ทาง http://www.webtvthaipbs.com/?q=node%2F248

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แลกเปลี่ยนเรียนรู้เลสาบไทย-กัมพูชา

ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาจากอดีตจนถึงปัจจุบันประสบปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่า

ป่าต้นน้ำถูกทำลาย ตะกอนทับถม ทะเลตื้นเขิน พื้นที่กระจูดลดลง ปัญหาชุมชน สัตว์น้ำลด น้ำเสียจากชุมชน ป่าพรุถูกบุกรุก พรุแห้ง ไม่มีน้ำ ไฟไหม้รุนแรง ขาดน้ำจืดทำนา/น้ำเค็ม-ดินเปรี้ยว/จืด/เสื่อม ดินสารพิษตกค้าง ราคาข้าวตกต่ำ-ผลผลิตต่ำ ต้นทุนสูง เครื่องมือประมงหนาแน่น ทำลายสัตว์น้ำ น้ำเสียจากนากุ้ง โรงงาน ชุมชน ร่องน้ำ ปัญหาท่าเรือน้ำลึก

ผู้ที่ได้รับผลกระทบกลุ่มแรกคือชาวประมงรอบทะเลสาบ จึงไดมีการรวมตัวกับเป็นเครือข่ายภาคประชาชนและดำเนินกิจกรรมต่างเพื่อแก้ปัญหาของทะเลสาบได้แก่ การจัดทำข้อมูลการทำแผนแม่บท เป็นแนวทางเพื่อแก้ปัญหา มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายชุมชนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีการวางพันธกิจของเครือข่ายชุมชนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบ

ในพ.ศ. 2545 ทางรัฐบาลได้สนับสนุนให้มีโครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยมีการจัดทำแผนแม่บทและการตั้งคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพื่อดูแลกำกับให้การดำเนินต่างๆให้อยู่ภายใต้แผนการพัฒนาซึ่งการดำเนินงานยังไม่ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม อันเนื่องมาจาก ขาดการบูรณาการการดำเนินงาน ขาดหน่วยงานประสานงานการตัดสินใจดำเนินงานการพัฒนาในระดับพื้นที่ ไม่มีงบประมาณเฉพาะของโครงการและกลไกการบริหารโครงการที่ต้องขึ้นอยู่กับการเมือง สภาลุ่มน้ำทะเลสาบจึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อชะลอปัญหาในการพัฒนา

กรมทรัพยากรน้ำ ได้ประสานให้มีโครงการพัฒนาร่วมระหว่างทะเลสาบสงขลาและโตนเลสาบ ประเทศกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ของสองทะเลสาบได้มีการดำเนินงานที่ผ่านมาคือ มีการประชุมเริ่มงาน ที่กรมทรัพยากรน้ำ กรุงเทพ ในวันที่สี่ สิงหาคม สองพันห้าร้อยห้าสิบสี่ วันที่แปด กันยายน สองพันห้าร้อยห้าสิบสี่ ประชุมที่ มอ.สางขลา วันที่หนึ่งถึงสี่ พฤศจิกายน สองพันห้าร้อยห้าสิบสี่ ทีมงาน SLB ดูงานภาคสนาม ณ โตนเลสาบ วันที่ ยี่สิบสาม ถึงยี่สิบหก มกราคม สองพันห้าร้อยห้าสิบห้า ทีมงาน TLB ดูงานภาคสนาม ณ ทะเลสาบสงขลา และวันที่ห้าถึงหก เมษายน ที่ผ่ามา ได้ประชุมสรุปงาน ที่กรมทรัพยากรน้ำที่ กรุงเทพ

ในส่วนของทะเลสาบสงขลานั้น ทางสภาลุ่มน้ำ ได้กำหนดพื้นที่ สามโซน เพื่อเป็นพื้นที่นำร่องในการพัฒนาร่วมคือ

1ชุมชนท่าหิน เป็นพื้นที่นำร่อง ในการแก้ปัญหา และพัฒนาร่วม ใช้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในการขับเคลื่อนที่จะสร้างงานในพื้นที่ สร้างจิตสำนึกร่วมในการอนุรักษ์ เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากร และวิถีชีวิต

2การจัดการแพปลาชุมชน บ้านช่องฟืน ตำบลเกาะหมาก จากการที่สัตว์น้ำในทะเลลดลง

และอยากให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม ได้มีการรวมกลุ่ม และทดลอง ปล่อยพันธุ์กุ้งปลา

สามเดือนเริ่มส่งผล ต่อมาก็จัดตั้งแพปลาชุมชน ลดการเอาเปรียบของผู้ค้าคนกลาง มีกองทุน ที่จะสร้างความมั่นคงให้มากขึ้น

3การแก้ปัญหาน้ำเสียของทะเลน้อย ชุมชนทะเลน้อย เป็นชุมชนใหญ่ มีบ้านเรือนติดกัน ปลูกบ้านแบบยกพื้นประมาณ 3,000 ครัวเรือน มีการถ่ายน้ำเสียจากครัวเรือน การย้อมสีกระจูดเพื่อทำผลิตภัณฑ์หัตถกรรม การแปรรูปสัตว์น้ำลงสู่ทะเลน้อยโดยตรง ไม่มีการจัดการน้ำเสียใดๆ ทำให้มีน้ำขังใต้ถุนบ้านเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหนะเชื้อโรค พืชน้ำเจริญงอกงามเร็วและมีจำนวนมากจนเกือบเต็มทะเล ในขณะที่ปริมาณโลหะหนักในตะกอนดินที่เกิดจากน้ำย้อมสีกระจูดมีค่าสูงกว่าปริมาณที่เริ่มจะส่งผลกระทบแล้ว ทั้งนี้มีความคาดหวัง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การ เรียนรู้จากสองทะเลสาบ

เพื่อหารูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรที่เหมาะสม ให้เกิดธรรมมาภิบาลในการ บริหารทรัพยากรของลุ่มน้ำ ส่งเสริมให้ทั้งทะเลสาบสงขลาของไทยและโตนเลสาบของกัมพูชา เป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งทำมาหากินอย่างยั่งยืนของชุมชน

จนสามารถนำไปใช้อ้างอิงเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับพื้นที่อื่นๆได้ต่อไป